#โรคขาดธรรมชาติในเด็ก โรคนี้มีจริงหรือ?

Last updated: 2 ธ.ค. 2564  |  448 จำนวนผู้เข้าชม  | 

#โรคขาดธรรมชาติในเด็ก  โรคนี้มีจริงหรือ?

โรคขาดธรรมชาติ Nature Deficit Disorder (NDD) มีการพูดถึงครั้งแรกในปี ค.ศ.2005 Richard Louv นักเขียนชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือ The Nature Principle และ Last Child in the Woods กล่าวไว้ว่า เด็กที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับธรรมชาติ ไม่มีกิจกรรมนอกบ้านหรือห้องเรียนให้ได้สัมผัสจับต้องกับธรรมชาติอย่าง ต้นไม้ ดินหญ้า ลำธารหรือสวนสาธารณะ แต่ใช้เวลาอยู่แต่กับการเล่นมือถือ เกม คอมพิวเตอร์ หรือเรียนพิเศษจนหมดวัน จะกลายเป็นคนที่หมกมุ่นอยู่กับตนเอง และคิดสร้างสรรค์ไม่เป็น

 


 

และถึงแม้ว่าโรคขาดธรรมชาตินี้จะยังไม่ได้มีการระบุทางการแพทย์ว่าเป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชเด็ก แต่ก็เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าการที่คนเราใช้เวลาอยู่กลางแจ้งน้อยลง จะส่งผลต่อปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กๆ
เช่น ขาดสมาธิ ขาดทักษะการเข้าสังคมจริง เคยชินกับโลกเสมือนจริง ขาดความเข้าใจต่อธรรมชาติ จึงขาดความสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างปรองดอง

ผลเสียจากโรคขาดธรรมชาติ:

  • ขาดสมาธิ
  • ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ
  • หลงอยู่ในโลกเสมือนจริง
  • ขาดความมั่นคงทางใจได้ง่าย
  • ขาดทักษะการอยู่ร่วมในสังคมจริง
  • ขาดความรักและผูกพันต่อธรรมชาติรอบตัว จึงขาดความสามารถในการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างปรองดอง                               

 


 

วิธีป้องโรคขาดธรรมชาติ:

  • จำกัดเวลาการใช้หน้าจออย่างเหมาะสมตามวัย ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
  • พาลูกไปเล่นและทำกิจกรรมกลางแจ้ง สัมผัสธรรมชาติ เลอะเทอะบ้าง ตามธรรมชาติเด็ก
  • คุณพ่อคุณแม่เป็นตัวอย่าง หลีกเลี่ยงการใช้หน้าจอมากเกินความจำเป็น

ปัญหาเหล่านี้แก้ไขและป้องกันได้ ด้วยเวลาและความรักความใส่ใจจากคุณพ่อคุณแม่และคนในครอบครัว ร่วมกันทำกิจกรรมที่ใกล้ชิดธรรมชาติเป็นประจำ โดยเปิดใจยอมรับความเลอะเทอะ จากการเล่น สำรวจและเรียนรู้ เพื่อก่อเกิดจินตนาการไร้กรอบ


ด้วยรักและห่วงใย
#แม่กรีนเภสัชแม่กรีนกายภาพ


ติดตามบทความอื่นๆได้ที่
www.greeneryherbsthailand.com


Line ID ; @greeneryherbs

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้